พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านต่างๆ รอบด้าน รวมถึงด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ กระทั่งได้รับการยกย่องว่าเป็น "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" ทรงสนพระทัยในด้านคอมพิวเตอร์อย่างลึกซึ้ง โดยหนึ่งในผลงานของพระองค์คือ "การประดิษฐ์ฟอนท์อักษรภาษาไทยในคอมพิวเตอร์ด้วยพระองค์เอง
ฟอนท์ไทยที่พระองค์ทรงออกแบบคือ แบบจิตรลดาและแบบภูพิงค์ โดยได้ทรงออกแบบผ่านโปรแกรม "Fontastic" ซึ่งนอกจากตัวอักษรฟอนท์ภาษาไทยแล้ว พระองค์ยังทรงออกแบบตัวอักษรภาษาอื่นด้วย เช่น ภาษาสันสกฤต และอักขระเทวนาครี
(ภาษาแขก)
ซึ่งฟอนต์เทวนาครีนี้มีความยากในการออกแบบที่ยากกว่าฟอนต์อื่นๆมาก เพราะ
ตัวอักษรเทวนาครี หรือ ตัวอักษรแขกนั้น มีรูปแบบที่ไม่คงตัว
เหมือนตัวตัวอักษรภาษาอื่นๆที่ทั่วโลกใช้กัน หรือกล่าวคือ
ถ้านำส่วนหนึ่งของอักษรนำมาต่อรวมกับอีกส่วนหนึ่งของอักษร
จะเกิดอักษรใหม่ขึ้นนั้นเอง นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงออกแบบ ส.ค.ส.
ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เพื่ออวยพรปีใหม่ให้แก่ประชาชนไทยด้วยทุกปี
ได้มีประกาศจากสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในฐานะที่ทรงเป็น "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" และกำหนดให้วันที่ ๑๙ ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันเทคโนโลยีของไทย"
นี่เป็นอีกหนึ่งผลงานที่มาจากพระอัฉริยภาพของพระองค์ในด้านคอมพิวเตอร์
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายอย่างที่ทรงคิดค้นริเริ่มขึ้นมาเพื่อพัฒนาประเทศไทยในด้านต่างๆ
สู้ความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทยทั้งชาติ
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นอย่างหาที่สุดไม่ได้
"....
ความเข้มแข็งในจิตใจนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องฝึกฝนแต่เล็ก
เพราะว่าต่อไปถ้ามีชีวิตที่ลำบาก ไปประสบอุปสรรคใดๆ ถ้าไม่มีความเข็งแข็ง
ไม่มีความรู้ ไม่มีทางที่จะผ่านอุปสรรคนั้นได้ เพระว่าถ้าไปเจออุปสรรคอะไร
ก็ไม่มีอะไรที่จะมาช่วยได้ แต่ถ้ามีความรู้
มีอัธยาศัยที่ดีและมีความเข้มแข็ง ในกาย ในใจ
ก็สามารถที่จะผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ นั้นได้ ...."
พระราชดำรัส.. ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
(พระราชทานแก่คณะครูและนักเรียนโรงเรียนราชวินิต วันศุกร์ ๓๑ ต.ค. ๒๕๑๘)